หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าฬ่อ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
   
 



เริ่มนับ วันที่ 13 มี.ค. 2561
 
เกี่ยวกับตำบล อาณาเขตติดต่อ สภาพทั่วไป ข้อมูลประชากร
 
 
บ้านท่าฬ่อ เป็นหมู่บ้านที่มีความเก่าแก่มาช้านาน มีความเจริญทางด้านการค้าขาย ทั้งในเขตชุมชน และเขตชุมชนข้างเคียง เพราะตำบลท่าฬ่อนั้นเป็นทางผ่านของหลายเขตพื้นที่ รวมถึงเป็นจุดศูนย์รวมที่ค่อนข้างใหญ่ ในการทำเศรษฐกิจค้าขายและการเศรษฐกิจต่างๆ ที่คนในชุมชนประกอบกิจการ ได้แก่ การค้าขาย
  ยาสมุนไพรจีน การค้าขายเสื้อผ้า การค้าขายของใช้ในครัวเรือน การค้าขายด้านอาหาร เช่น อาหารสด อาหารแห้ง รวมถึงหมากพลู ที่คนแก่ใช้เคี้ยวกินในชีวิตประจำวัน เนื่องจากตำบลท่าฬ่อเป็นชุมชนที่มีเขต ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก จึงใช้ล้อเกวียนเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าต่างๆ เข้ามาค้าขายในเขตตำบลท่าฬ่อ ฉะนั้น ตำบลท่าฬ่อจึงมีลักษณะที่คล้ายกับ ตลาดการค้าขายแบบหนึ่ง อีกทั้งยังมีเรือรับจ้างในการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพราะสมัยก่อนจะมีแต่ทางเดินที่เป็นล้อเกวียน และทางน้ำเท่านั้นที่สามารถเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นเรือรับจ้างจึงเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของตำบลท่าฬ่อ
แต่เดิมแล้วนั้น เขตชุมชนท่าฬ่อนั้น ทำการเศรษฐกิจค้าขายและขนสินค้าต่างๆ โดยใช้ล้อเกวียนเป็นพาหนะ ในการเดินทาง ผู้คนส่วนใหญ่จึงเรียกกันว่า “ท่าล้อ” เพื่อจะได้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง และก็เป็นที่รู้กันของผู้คนที่เดินทาง มาทำการค้าขาย แต่ต่อมาเมื่อมีผู้คนเพิ่มมากขึ้น การสื่อสารก็ค่อยๆ เพี้ยนกันมาเรื่อยฯ จนกลายเป็น “ท่าฬ่อ” มาถึงปัจจุบันนี้
บ้านท่าฬ่อ เป็นหมู่บ้านที่มีความเก่าแก่มาช้านาน มีความเจริญทางด้านการค้าขาย ทั้งในเขตชุมชน และเขตชุมชนข้างเคียง เพราะตำบลท่าฬ่อนั้นเป็นทางผ่านของหลายเขตพื้นที่ รวมถึงเป็นจุดศูนย์รวมที่ค่อนข้างใหญ่ ในการทำเศรษฐกิจค้าขายและการเศรษฐกิจต่างๆ ที่คนในชุมชนประกอบกิจการ ได้แก่ การค้าขายยาสมุนไพรจีน การค้าขายเสื้อผ้า การค้าขายของใช้ในครัวเรือน การค้าขายด้านอาหาร เช่น อาหารสด อาหารแห้ง รวมถึงหมากพลู ที่คนแก่ใช้เคี้ยวกินในชีวิตประจำวัน เนื่องจากตำบลท่าฬ่อเป็นชุมชนที่มีเขต ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก จึงใช้ล้อเกวียนเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าต่างๆ เข้ามาค้าขายในเขตตำบลท่าฬ่อ ฉะนั้น ตำบลท่าฬ่อจึงมีลักษณะที่คล้ายกับ ตลาดการค้าขายแบบหนึ่ง อีกทั้งยังมีเรือรับจ้างในการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพราะสมัยก่อนจะมีแต่ทางเดินที่เป็นล้อเกวียน และทางน้ำเท่านั้นที่สามารถเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นเรือรับจ้างจึงเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง ของตำบลท่าฬ่อ
 
 
 
“องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฬ่อ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และใช้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตตำบลท่าฬ่อ
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฬ่อ ตั้งอยู่ที่อยู่ 199 หมู่4 ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีจำนวน 3 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 21.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 13,687 ไร่
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฬ่อ มีจำนวน 3 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านในคลองท่าฬ่อ ห่างจากอำเภอเมืองพิจิตร ระยะทาง 10 กิโลเมตร
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโพธิ์แดน ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
 
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านท่าฬ่อเหนือ หมู่ 2 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านสระสาลี ต.ป่ามะคาบ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านริมคลองท่าฬ่อ หมู่ 7 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
         

หมู่ที่ 3 บ้านวังมะเดื่อ ห่างจากอำเภอเมืองพิจิตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตเทศบาลหมู่ 6 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 2 ต.ปากทาง อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ 4 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ 1 ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร
         

หมู่ที่ 4 บ้านวังมะเดื่อ ห่างจากอำเภอเมืองพิจิตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตเทศบาลหมู่ 5 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตต.ปากทาง อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตต.ป่ามะคาบ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตบ้านวังมะเดื่อหมู่ 3 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร
 
 
 
 
สภาพพื้นที่หมู่ที่ 1 เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนตามริมคลองวังทอง ซึ่งไหล ผ่านกลางหมู่บ้าน ทำให้สามารถทำนาปรัง ได้ปีละ 2-3 ครั้ง พื้นที่สาธารณะ 3 แห่ง ได้แก่ หนองโกงเกง หนองจิ้งหรีด และห้วยพันเรือ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา
  สภาพพื้นที่หมู่ที่ 3 เป็นพื้นที่ดอนและราบลุ่ม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มมากกว่าและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น การทำนา ปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง เพราะจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ การทำพืชไร่จะเป็นการปลูกถั่วลิสง การทำพืชสวนเป็นพวกพืชผักสวนครัว เป็นพืชที่มีระยะเวลาในการเก็บผลผลิตในช่วงสั้นๆ แต่สามารถทำรายได้ได้ดีในระดับหนึ่ง และการอาศัยของประชาชนมีลักษณะ เป็นชุมชน ขนาดย่อมมีถนนภายในหมู่บ้าน สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก แต่เนื่องจาก เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่ เกิดภัยน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีและบางปีก็อาจเกิดภัยแล้งอีกด้วยทำให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร
  สภาพพื้นที่หมู่ที่ 4เป็นพื้นที่ดอนและราบลุ่ม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มมากกว่าและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น การทำนา ปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง เพราะจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การทำพืชไร่จะเป็นการปลูกข้าวโพด เพราะการปลูกข้าวโพดแต่ละครั้งจะใช้เวลาในการปลูกจนสามารถเก็บผลผลิตได้นั้น ใช้ระยะเวลา 60 วัน การทำพืชสวน เป็นพวกพืชผักสวนครัว ระยะเวลาในการเก็บผลผลิตในช่วงสั้นๆ แต่ทำรายได้ได้ดีในระดับหนึ่ง และการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ส่วนใหญ่จะเป็นปลานิล ปลาดุก เพราะวิธีการเลี้ยงง่าย สามารถอยู่กับธรรมชาติได้ดี และการอาศัยของประชาชนมีลักษณะเป็นชุมชน ขนาดย่อมมีถนนภายในหมู่บ้าน สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก แต่เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่ เกิดภัยน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีและบางปีก็อาจเกิดภัยแล้งอีกด้วยทำให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร
 
 
 
โดยทั่วไปจังหวัดพิจิตร มีลักษณะภุมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง
เดือนเมษายน

ฤดูฝน จากเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม

ฤดูหนาว จากเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม สภาพอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้าในปี 2559 จังหวัดพิจิตร มีอุณหภูมิ 38.1 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 12.2 องศาเซลเซียส
 
 
การเกษตร

ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา จำนวน 6,357.75 ไร่ ทำไร่ ทำสวน 1,973 ไร่

ทำไร่ ทำสวย จำนวน 1,973.00 ไร่
การประมง

ประชาชนประกอบอาชีพการประมง
จำนวน 445 ไร่
การปศุสัตว์

ประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์
จำนวน 503 ไร่
 
 
จำนวนประชากรทั้งหมด 1,954 คน แยกเป็น

ชาย  จำนวน 911 คน คิดเป็นร้อยละ 46.62

หญิง จำนวน 1,043 คน คิดเป็นร้อยละ 53.38
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 607 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 89.22 คน/ตารางกิโลเมตร
 
 
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
จำนวน
ครัวเรือน
  1   บ้านในคลองท่าฬ่อ 252 284 536 187  
2   บ้านวังมะเดื่อ (ตก) 284 305 589 186
  3   บ้านวังมะเดื่อ (ออก) 375 454 829 234  
    รวม 911 1,043 1,954 607
 
ที่มา : ข้อมูลจากสำนักทะเบียน อำเภอเมือง ณ วันที่ 19 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559
  : ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล ปี 2559 วันที่ 19 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559
 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์
โทร 081-971-7014
 
  จำนวนผู้เข้าชม 5,584,277 เริ่มนับ 13 มี.ค. 2561 จัดทำโดย : NAXsolution.com  
  นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10